ดร.ธนวันต์ สินธุนาวา
เมื่อกล่าวถึงประเด็นสาเหตุที่สำคัญ พวกเรามีส่วนที่ทำให้โลกร้อนขึ้น ถ้าเรานั่งดูทีวีกันจนดึก เราก็ใช้ไฟฟ้า เมื่อเช้านี้อาบน้ำร้อนเราก็ใช้ไฟฟ้า โดยเฉพาะที่นี่ใช้ลิกไนต์จากแม่เมาะ ลิกไนต์เป็นเชื้อเพลิงที่นักวิทยาศาสตร์บอกว่าเป็นเชื้อเพลิงที่สมบูรณ์ที่สุดในแง่ของการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ขึ้นชั้นบรรยากาศ ไฟฟ้าของเชียงใหม่หล่อเลี้ยงด้วยไฟฟ้าที่มาจากโรงงานไฟฟ้าแม่เมาะ จังหวัดลำปาง 200 กม. จากนี้ไปต่อพ่วงสายเข้ามาจากลำปาง 100 หน่วย มาถึงที่โรงแรม 92 หน่วย หายไป 8 หน่วยระหว่างทาง สูญเสียตามสายส่งลำเลียงหายไป 8 หน่วย ประสิทธิภาพหายไปแล้ว 8% ปกติขั้นตอนการใช้มีการใช้ไม่เต็มที่ เปิดน้ำร้อนก็ยังไม่กล้าเข้าไปใกล้ เอานิ้วเข้าไปสัมผัสน้ำร้อนกว่าจะปรับได้ที่สูญเสียไปเยอะแล้ว เพราะฉะนั้นน้ำร้อนที่เราใช้อาบ คือ ตัวอย่างของการสูญเสียที่เกิดขึ้นตลอดเวลา
ที่สำคัญคือ การปล่อยก๊าซภาวะเรือนกระจกได้กระจายไปอย่างต่อเนื่อง ภาวะเรือนกระจกถ้าวัดในเชิงปริมาณจะวัดยังไงดี นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกใช้ตัวเลขของการผลิตก๊าซ CO2 เลยมีการเทียบกลับไปดูฟองอากาศที่อยู่ในน้ำแข็งที่ขั้วโลกเหนือ ขั้วโลกใต้พบว่าปี 1750 มี CO2 ในชั้นบรรยากาศ ~280 ppm ปีนี้ปี 2021 มี CO2 ในชั้นบรรยากาศ 419 ppm แล้วก็สิ่งที่นักวิทยาศาสตร์และสหประชาชาติกลัวมากก็คือ กลัวว่าจะถึง 450 ในสมัยก่อนเราเคยถึง 450 มาแล้ว
ในสมัยที่มีการได้รับรังสีความร้อนจากดวงอาทิตย์ ตอนนั้นน้ำทะเลท่วมหมดเลย ท่วมกระทั่งเราเจอปะการังที่ จังหวัดแพร่ เจอฟอสซิลของหอยทะเล บนฝาผนังของถ้ำที่น้ำหนาว ซึ่งก็คงไม่มีใครขยันเอาฟอสซิลขึ้นไปติดไว้บนนั้น ตอนนั้นมีก๊าซ CO2 ในชั้นบรรยากาศ 450 ppm ซึ่งแสดงว่าอุณหภูมิทั่วโลกตอนนั้นจะสูงกว่านี้ ~ 2-3 องศาเป็นอุณหภูมิเฉลี่ย รวมทั้งทะเล ภูเขา แผ่นดิน ถ้าเฉลี่ย 2 องศา เพิ่มขึ้น น้ำแข็งละลาย น้ำทะเลสูงขึ้น ~ 80 m. ก็จะถึงจังหวัดแพร่ และพื้นที่น้ำหนาว สิ่งที่เรากังวลคือตอนนี้เรา 384 ที่เป็นห่วงคือ 450 เราเหลืออีก 31 ppm ลองคำนวณบัญญัติไตรยางศ์ง่ายๆ ถ้าเราขยันใช้ขยันปล่อยก๊าซ CO2 อย่างที่เป็นอยู่ในอัตราปัจจุบัน เราปล่อยขึ้นไปปีละ 2 ppm เราเหลือเวลา 12 ปีที่อุณหภูมิจะสูงขึ้นโดยเฉลี่ย 2 องศา หมายถึงน้ำแข็งจะละลายทั้งหมด น้ำทะเลจะสูงขึ้น 7-80 เมตร อยากให้ทุกคนช่วยกันตอนนี้ประเทศไทยปล่อยก๊าซเรือนกระจกขึ้นไปในรูป CO2 เทียบเท่ากับทั่วโลกแล้วร้อยละ 1 ที่เหลือ 180 กว่าประเทศ ปล่อยอีก 99% เป็นอันว่าถ้าประเทศไทยไม่ให้ใช้น้ำมันเชื้อเพลิง ไม่ใช้ไฟซักดวงในประเทศไทย เราก็หยุดโลกร้อนนี้ไม่ได้ เพราะอีก 99% พูดไม่รู้เรื่อง จีนก็ไม่ยอม อเมริกาบอกไม่ได้ เพราะเพื่อคุณภาพชีวิต คนอเมริกาต้องมีรถ 3 คัน ขนาด 3,500 -4,000 cc. เราจะไปเปลี่ยนคุณภาพชีวิตเค้าไม่ได้ อินเดียก็ Yes, Yes, Yes (ส่ายหน้าตลอด) ไม่รู้แปลว่าอะไรไม่รู้ว่าความจริงใจของอินเดีย คือจะลดหรือไม่ลด ตรงนี้สิ่งที่วิตกกังวลคือประเทศไทยทำประเทศเดียวเอาไม่อยู่ เพราะฉะนั้นมาตรการในการจัดการภาวะโลกร้อนในปี 3 มักจะมีหลักดังนี้
1. การปรับตัว
ตอนนี้สายไปแล้วไม่ทันแล้วมาตรการต่อไปที่ต้องออกมา เพราะวิกฤติแล้วคือ ระงับการขายน้ำมันดิบทั่วโลก คือ ไม่มีการขายระหว่าง international trading เพื่อลด output ที่จะได้ CO2 รวมถึงร้านอาหารจีนต้องปิดตัว จึงจะเอาให้อยู่ก่อนถึง 450 ppm. เพื่อให้โลกมนุษย์ไว้ให้ได้ จะต้องออกมาตรการที่รุนแรงกว่าและเชื่อว่าในที่สุดต้องยอม ต้องทำและเราจะต้องได้รับผลกระทบรุนแรงในขณะนั้น สรุปว่าตอนนี้เราป้องกันไม่ได้แล้ว เช่น ซึนามิ เราป้องกันไม่ได้โชคดีที่เราเคยเจอซึนามิมาครั้งหนึ่งทำให้มีบทเรียน และเรามีความเข้าใจมากขึ้น สิ่งที่เราทำได้
2. การเตรียมรับ
เรารู้ไหมว่าจะเตรียมรับอะไร ผลกระทบ 10 ประการของภาวะโลกร้อนมีอะไรบ้าง ตั้งแต่ภัยแล้ง น้ำท่วมและอื่นๆ อีกมากมาย
3. การปรับตัว
เช่น ดูทีวีน้อยลงขับรถให้ช้าลง หรือลงจากรถมาเดินมากขึ้นจะช่วยลดได้ การลดพลังงานตรงนี้คงไม่มีผลแต่เป็นการเตรียมความพร้อมของภาวะที่ไม่มีพลังงานให้เราใช้แบบแต่ก่อน
อ้างอิงรูปภาพจาก : www.freepik.com